
ดยมากจะใช้ไส้เดือนดินทั่วๆ ไป แต่ไส้เดือนที่มีความสามารถย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้รวดเร็ว นิยมใช้ผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ
1.ไส้เดือนดิน สายพันธุ์ไทยฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretimapeguana)
2.ไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศ แลมบริคัส รูเบลลัล (Lumbricusrubellus)
สามารถทำแบบง่ายๆ ที่นิยมกันได้ 2 วิธีคือ
1. การทำน้ำหมักชีวภาพหรือเรียกว่าปุ๋ยน้ำ โดยใช้เศษผักหรือผลไม้หมักด้วยกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายไม่ฟอกสี (อัตราส่วน แล้วแต่สูตรที่ชอบ) หมักทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จนได้น้ำหมัก สามารถนำน้ำหมักไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
2. การใช้ไส้เดือนในการย่อยสลายสามารถกำจัดขยะ และผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนได้
1) ไม่ทำให้บริเวณที่กำจัดขยะเป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคเช่น แมลงวัน ยุง และแมลงสาบ เป็นต้น 2) ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนแก่แหล่งน้ำและพื้นดิน 3) ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 4) ไม่เป็นสาเหตุแห่งความรำคาญ
*** สำหรับวิธีที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นวิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผา การฝังกลบ และการทำปุ๋ย
- ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ - บำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ - ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน - ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ในกิจกรรมทางการเกษตร หรือสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน - ควรนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ - สำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสียของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม - สร้างจิตสำนึกของประชาชนในตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่ง น้ำและประหยัดการใช้น้ำเท่าที่จำเป็น
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ มีความสำคัญมากต่อพืชและสัตว์น้ำ ระดับปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ คือ ไม่ตำ่กว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร หากพบว่ามีค่าน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่าแหล่งน้ำนั้นเสื่อมโทรม แต่หากว่ามีตรวจพบว่ามีค่ามากว่า 10 มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่าแหล่งน้ำอาจมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของสาหร่ายในแหล่งน้ำ
สำหรับประเทศไทย แหล่งน้ำผิวดินตามมาตรฐานคุณภาพของแหล่งน้ำผิวดิน มีค่า PH อยู่ที่ 5-9 ซึ่งสามารถนำมาใช้ อุปโภค บริโภค ทำการเกษตร และการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำได้
ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ คือ น้ำจะมีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายและความเสียหายต่อการประมง การเกษตร การสาธารณสุข ทำให้ระบบนิเวศธรรมชาติถูกทำลาย หรือเสื่อมคุณภาพจนไม่เหมาะที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ ทำให้เกิดการตายของสัตว์และพืชน้ำเป็นจำนวนมากทำให้แหล่งน้ำเกิดการเน่าและขาดออกซิเจนที่ละลายน้ำ เป็นแหล่งของเชื้อโรคต่าง ๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งมลพิษทางน้ำจะส่งผลให้มีการทำลายทัศนียภาพในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวด้วย
แหล่งที่มาของสาเหตุของมลพิษทางน้ำที่เป็นสาเหตุหลัก คือ
1. ชุมชน แหล่งน้ำเสียประเภทนี้ได้แก่ แหล่งพักอาศัย อาคารชุด โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงฆ่าสัตว์ โดยมีน้ำเสียเกิดจากการชำระร่างกาย การซักเสื้อผ้า การประกอบอาหาร
2. อุตสาหกรรม เกิดจากกระบวนการในการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น น้ำหล่อเย็น น้ำล้าง น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต การทิ้งของเสียจากการผลิตสู่แหล่งน้ำ รวมถึงการทำเหมืองแร่
3. เกษตรกรรม น้ำเสียมาจากการล้างภาชนะที่บรรจุหรืออุปกรณ์ฉีดพ่น และการระบายของเสียจากมูลสัตว์ลงแหล่งน้ำ เช่น ฟาร์มสุกร นากุ้ง บ่อเลี้ยงปลา การฉีดพ่นสารเคมี การชะล้างหน้าดิน เป็นต้น
4. อื่น ๆ เช่น ภาวะมลพิษจากน้ำมันที่ใช้กับเครื่องจักรกลของเรือ การเกิดอุบัติเหตุของเรือขนส่งน้ำมัน และการขับถ่ายสิ่งปฏิกูลของผู้โดยสารบนเรือ การก่อสร้าง การล้างถนน น้ำเสียจากแพปลา ท่าเทียบเรือประมง เป็นต้น